บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2017

วิธีสวมใส่ชุดกิโมโน2

รูปภาพ
3. ใส่กิโมโนทับนาคะจูบัง 4. พันโอบิและทำเป็นรูปทรงโอไทโกะ โดยทั่วไปสำหรับกิโมโน พวกเราจะใช้ Nagoya Obi หรือ Fukuro obi ที่มีความกว้างประมาณ 36 ซม. และคุณสามารถใช้ Hanhaba Obi สำหรับโอกาสสบายๆ ค่ะ

วิธีสวมใส่ชุดกิโมโน1

รูปภาพ
วิธีสวมใส่ชุดกิโมโน 1.ใส่ชุดชั้นในของกิโมโน Hadajuban  2. สวมใส่ชุดชั้นในอื่น (นาคะจูบัง) เหตุผลที่ว่าทำไมเราต้องสวมใส่ เนื่องจากกิโมโนส่วนมากทำจากผ้าไหม การใส่ชุดชั้นในจะช่วยให้เหงื่อไม่ทำความเสียหายให้กับกิโมโน

ส่วนประกอบชุดกิโมโน2

รูปภาพ
5. Obijime เป็นเชือกเส้นเล็กๆ ที่ผูกทับโอบิทำให้ดูน่ารัก ผู้ชายไม่ นิยมใช้ 6. Tabi ถุงเท้าทรงพิเศษ 7. Geta รองเท้าเกี๊ยะ 8. ปิ่นปักผม

ส่วนประกอบของชุดกิโมโน1

รูปภาพ
ส่วนประกอบของชุดกิโมโน 1. อันดับแรกก็คือ Nagajuban ชุดชั้นในจะมีสีอ่อน มักเป็นสีขาว ผ้าจะบาง 2. ผ้าเส้นเล็กยาวๆ เรียกว่า Koshihimo ซึ่งใช้ผูกชุดชั้นใน 3. Kimono หรือ Yukata พอสวมแล้วก็จะผูกด้วย Datejime สำหรับกิโมโน Koshihimo สำหรับยูกาตะ แต่ปัจจุบันมี Datejime สำเร็จรูปที่ไม่ต้องผูกเองให้เสียเวลาใช้แถบเทปติด 4. Obi ผ้าผืนยาวที่ผูกรอบเอว ซึ่งสามารถเลือกผูกได้หลากหลายแบบ ความยากของการใส่กิโมโนนั้นก็อยู่ที่การผูกโอบิเป็นหลัก  โอบิของผู้ชายจะมีขนาดแคบกว่าของผู้หญิงและมักผูกแบบเรียบๆ ปัจจุบันมีโอบิสำเร็จรูปขายสำหรับใส่กับยูกาตะเพื่อความสะดวก ผู้ใส่ไม่ต้องผูกเอง

การตัดเย็บชุดกิโมโน

รูปภาพ
การตัดเย็บ ชุดกิโมโน อาจจะตัดเย็บแบบเดินลายเส้นของผ้าหรือไม่ก็ได้ หรือเย็บตะเข็บด้วยผ้าฝ้ายก็ได้ หากไม่เดินลายเส้น นิยมสวมใส่ในช่วงเดือน มิ.ย. ถึง ก.ย. แต่ทุกวันนี้ การสวมชุดยาคาตะเป็นที่นิยมกันมากที่สุด ส่วนการออกไปนอกบ้าน นิยมสวมชุดกิโมโนตัดเย็บจากผ้าไหมและผ้าฝ้าย ในขณะที่ชุดกิโมโนเดินลายเส้นของผ้า จะสวมใส่กันในช่วงเดือน ต.ค. ถึงเดือนพ.ค. แต่จะเย็บด้วยผ้าไหม หรือผ้าสำลี      สำหรับชุดกิโมโนที่เป็นพิธีการสำหรับผู้ชายจะเป็น ผ้าไหมสีดำ มีตราประจำตระกูลเป็นสีขาว ส่วนของผู้หญิงก็จะแตกต่างกันไป เช่น เป็นชุดผ้าไหมสีขาวหรือแดง ประดับด้วยไหมยกสีทองหรือสีเงิน ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะนิยมผ้าไหมสีเข้ม การออกแบบไม่ฉูดฉาด เช่น ชุดสำหรับไปร่วมงานศพ ก็จะเป็นสีดำเข้มไปเลย      ส่วนใหญ่การสวมชุดกิโมโนจะต้องสวมถุงเท้า (tabi) มีเสื้อชั้นในส่วนบน และผ้าพันรอบใต้กระโปรง จากนั้นจึงสวมกิโมโนทับ ซึ่งจะมีผ้ารัดเอว (datemaki) ไว้อย่างหนาแน่น ปกเสื้อนิยมสีขาว และจะต้องให้เห็นปกเสื้อประมาณ 1นิ้วเมื่อสวมกิโมโนทับ สาบเสื้อใช้ซ้ายทับขวา ทั้งหมดนี้คือวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวอาทิตย์อุทัยที่สืบทอดกันมานับพันปี

ลักษณะของกิโมโน

รูปภาพ
ลักษณะของกิโมโน        กิโมโนประกอบด้วยเสื้อนางางิ (長着) ซึ่งมีลักษณะเป็นคลุมขนาดยาวที่มีแขนเสื้อที่มีความกว้างมาก และสายโอบิ (帯) ซึ่งใช้รัดเสื้อคลุมนี้ให้อยู่คงที่ ชุดกิโมโนทั้งของหญิงและชายเมื่อใส่แล้วจะพรางรูปของผู้สวมใส่ไม่ให้เห็นสัดส่วนที่แท้จริง ชุดกิโมโนของผู้หญิงโสดเป็นกิโมโนแขนยาว ลวดลายที่นิยมคือลายดอกซากุระ กิโมโนของผู้หญิงแต่งงานแล้วจะเป็นกิโมโนแขนสั้นสีไม่ฉูดฉาดมาก ชุดประจำชาติของญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของประเทศที่รู้จักกันไปทั่วโลกเป็นอย่างดีในนามของกิโมโน (kimono) เชื่อว่าทุกคนคงจะรู้จักคุ้นเคยกับชุดประจำชาตินี้ไม่มากก็น้อย กิโมโนถูกนำเสนออย่างสวยงามบนเรือนร่างของดาราสาวจาง ซี่ยี่ต่อหน้าคนทั่วโลกผ่านภาพยนตร์เรื่อง Memoirs of a Geisha ด้วยความสวยงามของลายผ้านั้นทำให้ใครๆหลายคนที่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่นเกิดความรู้สึกหลงใหลจนอยากที่จะใส่ชุดกิโมโนกับเขาบ้าง แต่ทราบไหมว่ากิโมโนนั้นมีอุปกรณ์การแต่งกายที่มากความพิถีพิถันซับซ้อนกว่ายูกาตะมาก จึงมีน้ำหนักมากด้วย ด้วยเหตุนี้ กิโมโนจึงนิยมใส่เฉพาะแค่งานวันโอกาสพิเศษเท่านั้น (ถ้าหากคุณไม่ใช่เกอิชาที่จะต้องแต่งชุดกิโมโ

ความเป็นมาของชุดกิโมโน

รูปภาพ
ความเป็นมาของชุดกิโมโน สมัยนารา (ค.ศ. 710 - 794) ก่อนที่ชุดกิโมโนจะเป็นที่นิยม ชาวญี่ปุ่นมักแต่งชุดท่อนบนกับท่อนล่างเหมือนกันหรือไม่ก็เป็นผ้าชิ้นเดียวกันไปเลย      ต่อมาในสมัยเฮอัน (ค.ศ. 794 - 1192) ซึ่งถือเป็นช่วงเริ่มต้นการใส่กิโมโน ชาวญี่ปุ่นพัฒนาเทคนิคการตัดชุดเสื้อผ้าด้วยการตัดผ้าเป็นเส้นตรง เพื่อให้ง่ายต่อการสวมใส่ หยิบมาคลุมตัวได้ทันที ทั้งยังเป็นชุดที่เหมาะกับทุกสภาพอากาศ สามารถเปลี่ยนเนื้อผ้าที่ตัดเย็บให้เหมาะกับฤดูกาล ความสะดวกสบายนี้ทำให้ชุดกิโมโนแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว โดยวงการแฟชั่นสมัยนั้น ผู้ตัดเย็บก็จะคิดหาวิธีที่ทำให้ชุดกิโมโนมีสีสัน ผสมผสานกันด้วยสีต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและชนชั้นทาง สังคมถือว่าเป็นช่วงที่ชุดพัฒนาในเรื่อง สี มากที่สุด      ในยุคคามาคุระ (ค.ศ. 1338 - 1573) ทั้งผู้หญิงและผู้ชายจะนิยมใส่ชุดกิโมโนที่สีสันแสบทรวง ยิ่งเป็นนักรบจะต้องยิ่งใส่ชุดที่สีฉูดฉาดมากๆเพื่อแสดงถึงความเป็นผู้นำ      ต่อมาในยุคเอโดะ ( ค.ศ. 1600-1868 ) ช่วงที่โชกุนโตกูกาวาปกครองญี่ปุ่น โดยให้ขุนนางไปปกครองตามแคว้นต่างๆ นั้น ในช่วงนี้นักรบซามูไรแต่ละสำนักจะแต่งตัวแบ่งแยกตามก

ประวัติชุดกิโมโน

รูปภาพ
ประวัติชุดกิโมโน            กิโมโน หรือชุดแต่งกายของชาวอาทิตย์อุทัย มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยเฮอันหรือตรงกับค.ศ.794-1192 หรือพ.ศ.1337-1735 ก่อนหน้านั้น ซึ่งเป็นสมัยนารา (ค.ศ.710-794) ชาวญี่ปุ่นนิยมแต่งชุดท่อนบนกับท่อนล่างเหมือนกันหรือไม่ก็เป็นผ้าชิ้นเดียวกันไปเลย  พอมาถึงสมัยเฮอันซึ่งถือเป็นช่วงเริ่มต้นการใส่กิโมโนชาวญี่ปุ่นพัฒนาเทคนิคการตัดชุด เสื้อผ้า ด้วยการตัดผ้าเป็นเส้นตรง เพื่อให้ง่ายต่อมาสวมใส่ หยิบมาคลุมตัวได้ทันที ทั้งยังเป็นชุดที่เหมาะกับทุกสภาพอากาศ ถ้าหนาวๆใช้ผ้าหนา ถ้าเป็นฤดูร้อนก็เปลี่ยนไปใช้ผ้าบางๆ  ความสะดวกสบายนี้ทำให้ชุดกิโมโนแพร่หลายไปอย่างรวดเร็วโดยในวงการ แฟชั่น สมัยนั้นผู้ตัดเย็บก็จะคิดหาวิธีที่ทำให้ชุดกิโมโนมีสีสัน ผสมผสนานกันด้วยสีต่างๆ ให้เหมาะกับสภาพอากาศและชนชั้นทางสังคม ถือว่าเป็นช่วงที่ชุดพัฒนาในเรื่อง “สี” มากที่สุด ในยุคคามาคุระ (ค.ศ.1192-1338) และยุคโรมาจิ (ค.ศ.1338-1573) ทั้งผู้หญิงและผู้ชายจะนิยมใส่ชุดกิโมโนที่สีสันแสบทรวง ยิ่งเป็นนักรบจะต้องยิ่งใส่ชุดที่สีฉูดฉาดมากๆเพื่อแสดงถึงความเป็นผู้นำบางครั้งเรียกว่าไปแข่งแฟชั่นกันในสนามรบกันเลยทีเดียว

เครื่องแต่งกายประจำชาติญี่ปุ่น

รูปภาพ
เครื่องแต่งกายประจำชาติญี่ปุ่น ชุดกิโมโนชุดประจำชาติญี่ปุ่น                คำว่า กิโมโน (kimono) ถ้าแปลตามตัวแล้วหมายถึง เสื้อผ้า ถือได้ว่าเป็นชุดประจำชาติของญี่ปุ่น สามารถสวมใส่ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง มีลักษณะพิเศษตรงที่ชายเสื้อจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และมีผ้าแพรพันสะเอว (obi) ต่างกับชุดที่เป็นเสื้อผ้าของตะวันตก ( yofuku )อย่างชัดเจน ชุดกิโมโน ถูกดัดแปลงมาจากชุดในราชสำนักจีนตั้งแต่สมัยนาระ ถูกดัดแปลงเติมแต่งจนกลายเป็นเอกลักษณ์และกลายเป็น ชุดประจำชาติญี่ปุ่น ในที่สุด จนถึงปัจจุบันชุดกิโมโน มีสีสันสดใสสวยงามละลานตาไปหมด ผู้สูงอายุจะเลือกโทนสีไม่ค่อยฉูดฉาดและลวดลายเรียบง่ายกว่าชุดของหญิงสาววัยรุ่นที่กลายเป็นแฟชั่นไปแล้ว ทั้งสิ่งของประดับ ดอกไม้ที่คาดบนศรีษะเสริมให้ผู้สวมใส่ภูมิฐานดูดี